ย่ำแดนปลาดิบชมพิพิธภัณฑ์ ‘ฟูจิ มอเตอร์สปอร์ต’

“ฟูจิ มอเตอร์สปอร์ต มิวเซียม” เป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ในบริเวณชั้นที่ 1 และ 2 ภายในโรงแรมฟูจิ สปีดเวย์ ที่มีห้องพักขนาด 120 ห้อง ที่มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิอันสวยงาม อีกด้านหนึ่งเป็นสนามแข่งฟูจิ สปีดเวย์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีการนำเสนอวัฒนธรรมของมอเตอร์สปอร์ต โดยความร่วมมือของผู้ผลิตรถ ที่ส่งรถยนต์จากทั่วโลกอันเป็นตำนานของกีฬามอเตอร์สปอร์ตมาจัดแสดงให้ผู้สนใจเข้าชมกว่า 40 คัน ซึ่งเชื่อมโยงประวัติอันยาวนาน 130 ปี ของวิวัฒนาการของเทคโนโลยียานยนต์

กีฬามอเตอร์สปอร์ต เป็นยุคที่ผู้คนค้นหาแหล่งพลังงานด้วยวิธีใหม่ การขนส่งเพื่อมาแทนรถม้า กีฬามอเตอร์สปอร์ต เกิดจากการแข่งขันระหว่างเครื่องยนต์ไอน้ำ ไฟฟ้า และเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็วผ่านการแข่งขันที่ดุเดือด เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายต่างท้าทายตัวเองในการแข่งขันประเภทต่างๆ ดังนั้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงเป็นสถานที่ดึงดูดผู้คนที่หลงใหลในมอเตอร์สปอร์ตให้เข้ามาชม

ทันทีที่ก้าวเข้าไปในบริเวณชั้น 1 ของโรงแรมฟูจิ สปีดเวย์ จะเห็นรถยนต์ในอดีตที่ถูกจัดแสดงไว้อย่างเป็นระเบียบ เป็นโซนประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมอเตอร์สปอร์ต และพร้อมเล่าเรื่องของมอเตอร์สปอร์ต ที่มีมาตั้งแต่ 130 ปีก่อน โดยรถคันแรกที่อยู่ด้านหน้าเกิดขึ้นเมื่อปี 1894 ที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นมา จนถึงปี 1899 จึงเป็นรถยนต์เบนซินคันแรกและรุ่นแรกของโลก ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ซึ่งในสมัยนั้นกีฬามอเตอร์สปอร์ตได้ความนิยมมาก จึงเป็นเหตุผลที่ถนนของฝรั่งเศสดี และมีชนชั้นสูงจำนวนมากที่ชื่นชอบมอเตอร์สปอร์ต ดังนั้น องค์กรด้านรถยนต์ของฝรั่งเศส จึงได้จัดการแข่งขันและเป็นต้นกำเนิดในเวลานั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

คันแรกจอดเด่นนั้นเป็นรถยนต์ของอเมริกา ยี่ห้อ “Thomas flyer” รถยี่ห้อนี้เป็นเจ้าแรกที่ทำการแข่งขันแรลลี่รอบโลก โดยขับจากนิวยอร์กไปยังปารีส ขับไปบนถนนต่างๆ รอบโลก เพื่อดูว่ารถมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ได้ขับมาถึงญี่ปุ่นในปี 1908 ถัดมาเป็น “รุ่น 999” รถรุ่นนี้เช่ามาโชว์เป็นรถฟอร์ดของอเมริกาที่ “เฮนรี่ ฟอร์ด” อยากสร้างรถที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ โดยการหาเงินทุนจากการแข่งขันรถเพื่อนำเงินมาทำการค้า

มอเตอร์สปอร์ตรุ่นต่อมาเป็นรถสีเขียว สัญชาติอังกฤษ ช่วงปี 1922 เป็นรถต้นแบบรุ่นแรกและคันจริงๆ จากตัวถังรถและบอดี้ต่างมีความหมาย โดยใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีประจำของอังกฤษ สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยนั้นบริษัทที่ผลิตรถเป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องบินด้วย หันมาเครื่องยนต์ให้กับรถยนต์

มาถึงบูธหมายเลข 2 เป็นรถกรังด์ปรีซ์ของเบนซ์ เป็นรถที่มีบทบาทมากในปี 1934 ทำความเร็วสูงสุด 270 กม./ชม. โดยเมื่อดูจากสีเงินเรียกว่า “ซิลเวอร์” แรกๆ รถคันนี้เป็นสีขาว แต่เมื่อเข้าร่วมการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ ซึ่งมีกฎว่าประเทศไหนต้องใช้สีอะไร เบนซ์จึงใช้สีเงิน เป็นสีสัญลักษณ์

บูธหมายเลข 4 นับเป็นเรื่องราวรถยนต์ของฝั่งชาวเอเชีย โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช หรือ พระองค์เจ้าพีระ ทรงเข้าร่วมการแข่งขันที่เซอร์กิต เดอ โมนาโค (โมนาโก กรังด์ปรีซ์) และทรงชนะเลิศการแข่งขันรถกรังด์ปรีซ์ในยุโรปหลายรายการ ได้เตรียมจัดการแข่งขันที่ไทย โดยใช้ชื่อว่า “บางกอก กรังด์ปรีซ์” แต่ไม่ได้มีการแข่งขันจริง เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงต้องยกเลิกไป

ถัดมาเป็นบูธหมายเลข 6 เป็นช่วงเปิดสนามฟูจิ สปีดเวย์ ปี 1966 ถือกำเนิดมา และมีรถ 2 คันที่โดดเด่น แต่น่าเสียดายมีอุบัติเหตุ ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้ยกเลิกไป อย่างไรก็ตามทาง โตโยต้า ได้สร้างพื้นที่แห่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง โตโยต้า กรังด์ปรีซ์-อเมริกา-แคนาดา ทำให้รถคันนี้ร่วมแข่งขันในปี 1969 เรียกว่าเป็นเรซซิ่งที่จัดโดยแคนาดา และอเมริกา ร่วมกัน แต่มาจัดที่นี่แทน

เมื่อขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์ ที่จัดเป็นโซนมอเตอร์สปอร์ตแต่ละชนิดแต่ละรุ่น ที่หลายบริษัทให้ความร่วมมือส่งรถมาให้โชว์จะสะดุดตากับ “ปอร์เช่” มาให้ชมได้เฉพาะที่นี่ที่เดียว ซึ่งรถคันนี้ใช้แข่งขันบนถนนปกติในอิตาลี ส่วน “อัลฟาโรเมโอ” สีแดง เป็นรถยนต์ของอิตาลี ซึ่งตอนนี้ไม่มีแล้ว

ส่วนกลุ่มรถสำหรับแข่งแรลลี่ มีทั้งหมด 5 คัน ที่นำมาจัดแสดงเป็นรถญี่ปุ่นทั้งหมด โดยรถหมายเลข 8 ของ “มิตซูบิชิ” ที่เคยไปแข่งแรลลี่ ซาฟารี ที่ประเทศเคนยา ถัดมาเป็น “ดัสสัน ไวโอเล็ต” รถคันจริงเป็นรถยนต์ของ (นิสสัน ในปัจจุบัน) เป็นคันที่ชนะแรลลี่ ซาฟารี 3 ครั้ง ไม่ได้ซ่อมอะไรเลย แค่ทำความสะอาดเฉยๆ แล้วนำมาแสดงเลย ถัดมาเป็น “โตโยต้า เซลิก้า” ที่เข้าแข่งขันแรลลี่ ออสเตรเลีย ด้าน “ซูบารุ” กับรถหมายเลข 555 ปี 1996 สุดท้ายเป็น “มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น”

ส่วน เบนท์ลีย์ ที่ลงแข่งเลอมังส์ 24 ชั่วโมง ในสนามแข่งที่ฝรั่งเศส ในปี 1919 ครั้งแรก และจากการแข่งนาน 24 ชั่วโมงเต็ม จึงเริ่มให้ความสำคัญกับไฟหน้า เพราะวิ่งตอนกลางคืนต้องสว่างมากขนาดไหนถึงจะมองเห็นถนนชัดเจนเพียงพอ สำหรับรถที่ชนะในสนามแข่งเลอมังส์ ครั้งแรกเป็นรถ “มาสด้า” ใช้เครื่องยนต์โรตารี ตอนนี้เครื่องยนต์โรตารีที่ชนะเลิศเหลือให้ชมมีแค่คันนี้คันเดียว และคันสีแดงที่เข้าร่วมแข่งขันเลอมังส์ เป็น “โตโยต้า จีที1” ได้อันดับสองคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ถัดมาเป็นมุม ฟอร์มูล่าวัน เป็นรถยนต์ “โตโยต้า” ที่ผลิตออกมาลงแข่งขันจริงๆ ต่อสู้ในสนามแข่งจนถึงปี 2009 ได้ยกเลิกไปเพราะผู้บริหารในเวลานั้นไม่เน้น อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้นการพัฒนารถขึ้นมา 1 รุ่น ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี ส่วนใหญ่รถบ้านที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมีพื้นฐานมาจากรถแข่ง ที่ผู้ผลิตนำไปแข่งแล้วนำมาพัฒนาต่อยอด อย่าง “โตโยต้า 2000 จีที” มีไฟหน้าเปิดปิดได้ ช่วงนั้นขายดีมากผลิตจำกัดเพียง 300 คัน แต่ไม่ใช่คันที่จัดแสดงอยู่ ถัดมาเป็น “ฮอนด้า” รุ่นนี้ขายดีมากเช่นกัน

และมาถึงโซนรถแนสคาร์ ซึ่งเป็นรถต้นแบบของคัมรี ที่นำมาใช้แข่งในสนามแข่ง ทำความเร็วสูงสุดถึง 400 กม./ชม. อีกคันเป็น “โตโยต้า” ใช้เครื่องยนต์โตโยต้า บอดี้ทั้งหมดเป็นของอเมริกา รถสามารถคว้าชัยชนะเลิศในปี 2002 และสุดท้ายเป็นรถ “โตโยต้า” ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนขับเคลื่อน ที่นำมาจัดแข่งขันในรายการมอเตอร์สปอร์ต สนามสุดท้ายของปี 2022 ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ นั่นเอง.

You May Also Like

More From Author